ไม่พบผลลัพธ์
ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์
การวิจัยและพัฒนา (R&D) สิ่งที่ตามมาคือ นวัตกรรม
“ข้อสังเกตของการวิจัยและพัฒนา R&D” การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต ข้อสังเกตของการวิจัย R&D 1.ปัญหาการวิจัย R&D ปัญหา การวิจัยของ R&D ต้องตอบสนองความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ลักษณะ คือ ต้องการแก้ปัญหา ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ตัวอย่างการเขียนปัญหาวิจัย 1. สิ่งใดจะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น 2. รูปแบบใดที่สามารถพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนได้ดี 3. เครื่องมือใดทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บน้อยลง 4 . อะไรทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. รูปแบบใดที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบัน 6. รูปแบบการบริหารใดที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น รู้ไว้ใช่ว่า.. ปรัชญาของ R&D คือ Need หมายถึงความต้องการ สิ่งที่ได้จาก R&D คือ นวัตกรรม 2.การตั้งชื่อเรื่องวิจัย R&D หลักการตั้งชื่อสำหรับวิจัยและพัฒนาจะความแตกต่างจากวิจัยประเภทอื่น ๆ และมีหลักในการตั้งชื่อ ดังนี้ 1.นิยมตั้งเป็นประโยคบอกเล่า 2.มีคำว่า “พัฒนา”อยู่ช่วงต้นของประโยค 3.อาจมี หรือไม่มีคำว่า “วิจัย” อยู่ที่ชื่อเรื่องก็ได้ 4.ปัญหาที่ต้องการวิจัยอยู่ช่วงต้นของประโยค 5.กลุ่มเป้าหมายอยู่ช่วงกลางของประโยค 6. ถ้าส่วนท้ายของประโยคบ่งบอกสถานที่ งานวิจัยนั้นจะใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น แต่ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ จะใช้ได้ทุกที่ เป็นการเปิดกว้าง ตัวอย่างชื่อวิจัย R&D – การวิจัยและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคกลาง – การพัฒนาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ – การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะชีวิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รู้ไว้ใช่ว่า… ข้อสังเกตชื่อเรื่องของวิจัย R&D แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก จะบ่งบอกถึงความต้องการของผู้วิจัย ส่วนที่สองจะบ่งบอก ถึงนวัตกรรมของวิจัย และส่วนสุดท้ายบ่งบอกถึงเป้าหมายว่าทำวิจัยกับใคร มีกระบวนการอย่างไร 3.การเขียนวัตถุประสงค์ของ R&D การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนามีหลักในการเขียนดังนี้ 1.นิยมเขียนเป็นข้อ ๆ (มากกว่า 1 ข้อ) 2.ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ” 3.เขียนเรียงลำดับข้อให้เป็นไปตามวิธีวิจัยที่ใช้ 4.ส่วน แรกของประโยคควรเป็นการวิจัย แล้วตามด้วยการพัฒนา การประเมินสิ่งที่ได้จากการวิจัยหรือประเมินผลการใช้นวัตกรรม และมีการขยายผลสิ่งที่ได้ ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ของ R&D 1.เพื่อศึกษาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 2.เพื่อพัฒนาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 3.เพื่อประเมินการใช้ระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 4.เพื่อศึกษาและขยายผลการใช้ระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 4.ตัวแปร R&D วิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดคือแบ่งเป็นตามลักษณะการใช้ ดังนี้ 1 ตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึงคุณลักษณะที่เกิดก่อน หรือเป็นสาเหตุของตัวแปรตาม หรืออาจจะเรียกว่า ตัวแปรอิสระ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ ตัวแปรอิสระที่สามารถจัดกระทำได้ (Active Variable) และตัวแปรอิสระที่ไม่สามารถจัดกระทำได้(Attribute Variable) โดย ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ชนิดเป็น ตัวแปรสาเหตุเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกัน คือตัวแปรอิสระที่ไม่สามารถจัดกระทำได้ ผู้วิจัยเป็นเพียงผู้เลือกว่ากลุ่มใดมีลักษณะอย่างไร แต่ไม่สามารถสร้างลักษณะนั้นขึ้นมา ในขณะที่ตัวแปรอิสระที่สามารถจัดกระทำได้ ผู้วิจัยสามารถสร้างลักษณะนั้นขึ้นมาได้ 2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง คุณลักษณะที่คาดว่าจะได้รับ หรือเป็นผลที่ได้รับจากตัวแปรอิสระ ตัวอย่างเช่น การวิจัยที่ศึกษาอายุของผู้สอนและสภาพของห้องเรียนว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหรือไม่ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อข้อสรุปของการวิจัย (Confounding Variable) หมายถึง ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการสรุปความเป็นสาเหตุของตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปรตาม จำแนกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1) ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตามเช่นเดียวกับตัวแปรอิสระ แต่เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยไม่ได้สนใจที่จะศึกษา ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุม ไม่เช่นนั้นตัวแปรแทรกซ้อนอาจทำให้ผลที่ศึกษาไม่ได้ข้อสรุปอย่างที่สรุปไว้ ก็ได้ ทำให้ผลที่ได้คาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง 2) ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่สอดแทรกอยู่ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม รู้ไว้ใช่ว่า… โดย ทั่วไปแล้ว การแยกตัวแปรอิสระออกจากตัวแปรตาม มีหลักง่าย ๆ ดังนี้ 1. ถ้าตัวแปรใดเกิดก่อน ให้ถือว่าตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เกิดภายหลังเรียกตัวแปรตาม เช่น เพศ กับ ระดับการศึกษาจะต้องถือว่า เพศ เป็นตัวแปรอิสระ (เพราะเกิดก่อน) ระดับการศึกษาเป็นตัวแปรตาม 2. ถ้าตัวแปรใดเป็นสาเหตุของอีกตัวแปรหนึ่ง ตัวแปรนั้นถือว่าเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เป็นผลนั้นถือว่าเป็นตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ในงานวิจัยและพัฒนา ใน งานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา ตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ ตัวนวัตกรรมหรือปฏิบัติการ (Treatment) ที่นักวิจัยให้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจหมายถึง สื่อ/ ชุดสื่อ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการศึกษา ส่วนตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการใส่ปฏิบัติการ เช่น ความรู้ ความพอใจ เจตคติ ทักษะ หรือสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นต้น สรุปตัวแปรใน R&D -ในงานวิจัย R&D ไม่นิยมเขียนตัวแปรแยก ตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม -จะเขียนตัวแปรไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย -ไม่ระบุว่ามีตัวแปรกี่ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรีวิวในบทที่ 2 5.กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) การ นำเสนอภาพรวมๆ ของงานวิจัยที่ผู้วิจัยจะทำโดยกำหนดออกมาให้เห็นรูปธรรมชัดเจน จากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารตำรา ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม แล้วนำเสนอหรือสรุปเป็นภาพรวมให้ชัดเจนให้ง่ายต่อความเข้าใจในปัญหาและวิธี การวิจัยเป็นกรอบของการวิจัย ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย ตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การเสนอกรอบแนวความคิด สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ 1.... อ่านเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร KuuNe F&F
หนึ่ง ในผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง ถูกใจในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติปลอดสารเคมี จากการค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ ม.เกษตร ผ่านการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่พอเหมาะแถมยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน ควบคุมระดับน้ำตาล เร่งการเผาผลาญ ให้สุขภาพดี Fit & Firm กับ KuuNe F&F ยินดีและขอบคุณกับคุณลูกค้าที่ต้งใจจริงที่จะลดไขมันส่วนเกินทุกท่านครับ www.ptpfoods.comwww.facebook.com/kuunepage Line id : OatEcho Mobile : 0867917007 #KuuNeF&F #คูเน่เอฟแอนด์เอฟ #Fit&Firm #ฟิตแอนด์เฟิร์ม #F&F #เอฟแอนด์เอฟ #ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร #ควบคุมน้ำหนัก #ลดไขมัน #ควบคุมระดับน้ำตาล #เร่งการเผาผลาญ #แร่ธาตุและวิตามิน #ปลอดสารเคมี... อ่านเพิ่มเติมประสบการณ์ชีวิตที่มหัศจรรย์จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้
ประสบการณ์มหัศจรรย์คืออะไร? และจะทำให้ชีวิตคนเราดีขึ้นได้อย่างไร? ประสบการณ์ที่ว่านิ้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการผจญภัยครั้งใหญ่ เช่นการไต่เขา หรือการล่องคลื่นในแม่น้ำ ยก ตัวอย่าง Polett Villalta นักสร้างเว็บไซต์วัย 39 ปี ในรัฐ Florida ซึ่งเป็นอัมพาตตั้งแต่อกไปลงไปถึงเท้า เมื่ออายุ 12 ขวบ แต่เธอเป็นนักดำน้ำ Scuba ที่ใช้เวลาว่าง ออกดำน้ำกับเพื่อนๆ และเล่าถึงประสบการณ์ใต้ท้องทะเล เมื่อเธอสัมผัสกับทรายที่พื้นทะเล และได้เห็นปลาต่างๆ เธอบอกว่า ในขณะนั้น เธอลืมเรื่องอื่นๆทั้งหมด นัก วิจัยให้คำอธิบายประสบการณ์มหัศจรรย์อย่างนี้ว่า เป็นประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกตอบสนองต่อบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่ง ใหญ่ มโหฬาร ท้าทาย และขยายวิถีทางการมองโลกของเราได้ และ ว่าความรู้สึกเช่นนี้ อาจเกิดขึ้นเมื่อเราได้เห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ หรืออาจเป็นประสบการณ์ทางศาสนา การได้ฟังคอนเสิร์ต การร่วมชุมนุมทางการเมืองหรือการแข่งขันกีฬาก็ได้ และก็มีคุณพ่อหลายรายที่เล่าถึงความรู้สึกจากประสบการณ์ที่ได้เห็นลูกเกิด นัก วิจัยเชื่อว่า ประสบการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความบันดาลใจ ช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้น และปรับความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว เพราะประสบการณ์ที่ว่านี้ ทำให้เราเห็นใจเพื่อนมนุษย์และสนใจการคบค้าสมาคมมากขึ้น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากขึ้น ในขณะที่รู้จักมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความ รู้สึกเช่นนี้ยังเป็นผลดีต่อร่างกายได้ด้วย ห้องแล็บที่ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของศาสตราจารย์ Dacher Keltner ที่มหาวิทยาลัย California วิทยาเขต Berkeley รายงานว่า ผลของการทดลองกับนักศึกษาปริญญาตรี 119 คน พบว่านักศึกษาที่มีประสบการณ์ดังกล่าว มีเครื่องหมายระบุอาการอักเสบในเสมหะต่ำกว่าใครเพื่อน การมีอาการอักเสบสูงในร่างกายเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกอาการของโรคเศร้าซึม ที่มา : http://www.voathai.com/content/awesome-experience-nm/2657878.html... อ่านเพิ่มเติมไม่พบผลลัพธ์
ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์