มะกันห้ามใช้ไขมันทรานส์
“พาณิชย์” ชี้อเมริกา ออกระเบียบห้ามใช้ “ไขมันทรานส์”ในอุตสาหกรรมอาหาร–เครื่องดื่ม เริ่มมิ.ย.61 แนะผู้ประกอบการปรับตัวส่งออกไปยังสหรัฐ วันอังคารที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 16:29 น. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ( เอฟดีเอ) ได้ประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ เป็นส่วนผสมการผลิตสินค้าอาหารเพื่อมนุษย์รับประทาน เนื่องจากไม่ปลอดภัย แต่อนุโลมให้ผู้ผลิตอาหารยื่นคำร้องขออนุญาตใช้เป็นบางกรณี โดยเอฟดีเอให้เวลาอุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐฯ 3 ปี ที่จะปรับกระบวนการผลิต ด้วยการเลิกใช้ไขมันทรานส์ มีผลบังคับในวันที่ 18 มิ.ย. 61 เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ประกอบการไทย ต้องเตรียมตัวและวางแผนปรับปรุงกระบวนการใช้วัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าอาหารไทยส่งไปยังสหรัฐฯด้วยการ ปลอดไขมันทรานส์ “การห้ามใช้ไขมันทรานส์ในสินค้าอาหารในระเบียบใหม่นี้ จะช่วยสุขภาพในด้านการลดปัญหาโรคหัวใจ หรือ ช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย แม้ว่าผู้ผลิตอาหารในสหรัฐฯจะแย้งว่า ระดับไขมันทรานส์ในอาหารอยู่ในระดับต่ำมากอยู่แล้ว และมีความปลอดภัย” ทั้งนี้เอฟดีเอออกแถลงการณ์ระบุ การให้ไขมันทรานส์ หรือ ไขมันผ่านกรรมวิธีสังเคราะห์ ไปทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน แล้วกลายเป็นของแข็งกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม และมาการีน หรือมาในรูปแบบผง เช่น ผงครีมเทียม เป็นสารปรุงอาหารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดย พบมากในเค้ก คุกกี้ ขนมปัง และอาหารแช่แข็งอีกนานาชนิด ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของชาวอเมริกันหลายล้านคนในแต่ละปี ขณะเดียวกันสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิสแจ้งว่าจากงานวิจัยระหว่างปี 52 -56 โดยได้เก็บข้อมูลมาจาก 3 กลุ่มห้างค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 45%ของอุตสาหกรรมค้าปลีกทั้งหมด โดยเก็บข้อมูลมาจากสินค้าอาหารทั้งสิ้น 202 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ประเภทธัญพืช พาสต้า ผัก ผลไม้ อาหารกล่อง นมและขนมขบเคี้ยว สินค้าจำพวกแคลอรี่ต่ำ (ให้พลังงานไม่เกิน 150 แคลอรี่ต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง และเครื่องดื่มต้องอยู่ที่ 50 แคลอรี่ หรือ น้อยกว่า ) พบว่าสินค้าดังกล่าวได้เป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของตลาด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 59%ขณะที่ประเภทของหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและพิซซ่าก็มียอดขายมากขึ้น 12%เช่นเดียวกัน ที่สำคัญ พบว่าชาวยุโรปทานผลไม้เป็นของว่างมากที่สุด ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเองก็ เช่นเดียวกัน โดยที่โยเกิร์ตมาเป็นลำดับที่ 1 ในละตินอเมริกา ในขณะที่ช็อคโกแลตเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนขนมขบเคี้ยวที่เป็นลำดับ 1 ของสหรัฐฯ คือ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ ซึ่ง ยอดขายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มแคลโลลี่ต่ าขยายตัวมากขึ้นในซูเปอร์มาร์เก็ตของสหรัฐฯ“
ไขมันทรานส์ สารอาหารตัวร้าย
Article: นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ประกาศเลิกใช้ไขมันทรานส์ในอาหารที่มีขายโดยทั่วไปทั้งประเทศ ทำให้ไขมันทรานส์ได้รับความสนใจขึ้นมามาก การประกาศนี้เป็นผลตามหลังมาจากการผ่านกฎหมายท้องถิ่นของมลรัฐนิวยอร์คและคา ลิฟอร์เนียที่ห้ามใช้ไขมันทรานส์ในภัตตาคารในปี ค.ศ.2006 และ ค.ศ.2008 ตามลำดับ ขณะนี้บริษัทอาหารจานด่วนยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์และดังกิ้นโดนัทก็ได้ เริ่มทำการเปลี่ยนสูตรอาหารไร้ไขมันทรานส์กันแล้ว
ไขมันทรานส์คืออะไร
ไข มันทรานส์ คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์จึงเก็บได้นานขึ้นและมีความเป็นมัน ย่องน้อยลง มีรสชาติดี ไม่เละ และมีความนุ่มนวลมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมใช้ผสมในอาหารและขนม แต่ตอนนี้ได้เริ่มมีการบังคับให้เปลี่ยนสูตรอาหารแล้ว
ไขมันทรานส์มาจากไหน
ไข มันทรานส์นี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนเราทำขึ้นและนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม อาหารตั้งแต่ช่วงประมาณปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา ส่วนไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติก็มี เช่น ในเนื้อวัว เนื้อหมู แต่ไม่ควรกินมาก
อาหาร ที่มีไขมันทรานส์อยู่มาก เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ เค้ก อาหารทอด เช่น ขนมโดนัท เฟรนช์ฟราย มันทอด ไก่ย่าง กล้วยแขก ปาท่องโก๋ อาหารที่ทอดในน้ำมันซ้ำๆ ก็ยิ่งมีไขมันทรานส์มาก จึงควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งอาหารที่ใส่ shortening (สารที่ทำให้อาหารมีความแข็ง เป็นรูปทรง ไม่เละ) ได้แก่ เนย มาร์การีน ก็มีไขมันทรานส์มาก ควรหลีกเลี่ยงหรือลด ละ เลิก
ผลร้ายจากไขมันทรานส์
หลัง จากคนเราบริโภคไขมันทรานส์มานาน ก็ได้มีการศึกษามากมายแสดงผลเสียของมันต่อสุขภาพ กรมควบคุมและป้องกันโรคอเมริกันได้ประเมินว่า ในแต่ละปีไขมันทรานส์มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 20,000 ราย และมีการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ 7,000 ราย จากสถิติที่สูงแน่ชัดอย่างนี้ทำให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาต้องออกมา ประกาศว่าไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกต่อไป ภัตตาคารต่างๆ ที่มักจะใช้ไขมันทรานส์ในการทอดอาหาร เมื่อมีกฎห้ามใช้ก็จำเป็นต้องหาน้ำมันอย่างอื่นมาใช้แทน ที่สหรัฐอเมริกาสามารถบังคับใช้กฎหมายแบบนั้นได้ แต่เมืองไทยคงยาก เราต้องค่อยๆ ปรับตัวตามเขาไปกินในสิ่งที่ดีกว่า
ใน บรรดาไขมันที่เราบริโภคทั้งหลาย ไขมันทรานส์ (ทางเคมีเรียกว่า กรดไขมันทรานส์) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า trans fat หรือ trans fatty acid เป็นไขมันตัวร้ายที่สุด เนื่องจากมีความแตกต่างจากไขมันตัวอื่นตรงที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเพิ่มคอเล สเตอรอลตัวร้าย หรือ LDL cholesterol และลดระดับคอเลสเตอรอลตัวดีคือ HDL cholesterol สองอย่างนี้ทำให้เกิดการพอกพูนของตะกรันคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด อาจจะเรียกได้ว่าร้ายยกกำลังสอง (กว่าไขมันตัวอื่น) ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ตีบตัน ส่งผลให้อวัยวะที่หลอดเลือดนั้นนำเลือดไปเลี้ยงขาดเลือดขาดออกซิเจน เช่น หัวใจขาดเลือด (หัวใจวาย) สมองขาดเลือด (เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์) หรือไตขาดเลือด (ไตวาย) ฯลฯ
ใน หลายกรณีตะกรันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมักหลุดลอกทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือในกรณีหลอดเลือดในสมองก็เกิดอาการทางสมองเฉียบพลัน เช่น ปากเบี้ยว แขนอ่อนแรงเฉียบพลัน นอกจากไขมันทรานส์จะทำให้คอเลสเตอรอลตัวร้ายสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลเสียอื่นคือทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งมีผลเสียต่อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวตีบตันได้เช่นกัน
เลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัย
สิ่ง หนึ่งที่เราทำได้คืออ่านฉลากอาหารก่อนซื้อ รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีกฎให้อุตสาหกรรมอาหารต้องมีฉลากติดข้างกล่องระบุว่า อาหารมีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีไขมันทรานส์เท่าไหร่ การอ่านฉลากต้องมีความเข้าใจศัพท์พอสมควร เช่น
No trans fat ไม่ ได้หมายความว่าไม่มีไขมันทรานส์เลย อาจหมายความว่ามีไขมันทรานส์ 0.5 กรัม เพราะเขาอนุญาตให้ติดฉลาด no trans fat ได้ถ้าจำนวนไขมันทรานส์ต่ำกว่า 0.5 กรัม ดังนั้นถ้าเรากินมันเข้าไปมากก็จะได้ไขมันทรานส์มาก
Partially hydrogenated oil ก็หมายถึง ไขมันทรานส์นั่นเอง
Fully หรือ completely hydrogenated fat ไม่ใช่ไขมันทรานส์ แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวแทน
Hydrogenated fat อาจจะมีไขมันทรานส์อยู่ด้วย ผู้บริโภคที่ฉลาดจึงต้องมีความรู้และอ่านฉลากให้เป็น
อนึ่ง ไม่ใช่ไขมันทรานส์อย่างเดียวที่เราต้องหลีกเลี่ยง ไขมันอิ่มตัวทั้งหลายที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะกลายเป็นคอเลสเตอรอลเราก็ต้อง หลีกเลี่ยง ไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวมาก ไขมันอิ่มตัวภาษาอังกฤษเรียกว่า saturated fat (เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู หนังไก่ หนังเป็ด คอหมู ฯลฯ ) ควรเลือกกินไขมันตรงข้ามคือไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ได้แก่ น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย ฯลฯ
ไขมัน ที่ดีๆ ที่ควรรู้มีอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำมันปลา ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก สารตัวนี้ทำให้ไขมันร้าย ไตรกลีเซอไรด์ลดลง อีกอย่างหนึ่งที่ควรใส่ใจคือ การจงใจกินคอเลสเตอรอล เช่น ไข่แดง (เพราะความอร่อย) มันก็จะไปกลายเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดแน่นอน สำหรับคนที่คอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงจึงควร (ใช้สามัญสำนึก) หลีกเลี่ยง สำหรับคนที่ระดับคอเลสเตอรอลต่ำกินวันละ 1 ฟองไม่เป็นไร
จำนวน ไขมันทรานส์ที่แนะนำให้บริโภคต่อวันไม่มีใครทราบแน่ว่าเท่าไหร่ดี แต่มักจะแนะนำกันว่าไม่ควรกินเกิน 1% ของจำนวนแคลอรีทั้งหมด หลายท่านอาจจะมีปัญหาเรื่องการคำนวณจำนวนแคลอรี ก็จำไว้ปฎิบัติง่ายๆ คือกินไขมันทรานส์ให้น้อยๆ เข้าไว้ ถ้าหลีกเลี่ยงอาหารทอดทั้งหลายและอาหารที่กล่าวถึงข้างต้นได้ก็จะดีครับ
ที่มา : http://www.healthtoday.net/thailand/scoop/scoop_153.html