มือถือ: 063 516 6296 โทร: 0 2956 6118 โทรสาร: 0 2956 6117 komcharne@gmail.com

อัยการรัฐนิวยอร์คเตือนวิตามินอาหารเสริมที่ขายดีในท้องตลาดมีสารอาหารไม่ตรงกับฉลาก

สำนัก งานอัยการรัฐนิวยอร์คกล่าวหาธุรกิจขายปลีกรายใหญ่ในอเมริกาว่าขายผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมที่หลอกลวงและอาจเป็นอันตรายได้ หลังตรวจสอบตัวอย่างไม่พบสารอาหารตามที่โฆษณา


Herbal Supplements Investigation

สำนัก งานอัยการรัฐนิวยอร์คกล่าวว่าได้ทดสอบอาหารเสริมขายดีที่กล่าวอ้างว่าผลิต จากสมุนไพร ของบริษัทธุรกิจขายปลีกรายใหญ่ 4 ราย คือ GNC, Target, Walgreens และ Walmart และพบว่า 4 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์ที่นำมาตรวจสอบ ไม่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบตามที่ระบุไว้ในฉลากของบรรจุภัณฑ์

หนังสือ พิมพ์ New York Times ซึ่งรายงานข่าวเรื่องนี้ กล่าวว่า การทดสอบเป็นการตรวจหา DNA ของสมุนไพรที่ผู้ผลิตระบุไว้ในฉลาก ผลปรากฎว่า ส่วนประกอบของอาหารเสริมเหล่านั้น มักจะเป็นสารเพิ่มปริมาณราคาถูก เช่น ข้าว หน่อไม้ฝรั่ง หรือพืชผักที่ปลูกตามบ้าน นำมาป่นละเอียดเป็นผงมากกว่า ส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพรนั้นมีพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

เรื่อง สรรพคุณและความปลอดภัยของอาหารเสริม เป็นเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพอนามัยร้องเรียนมานานแล้ว แต่กฎหมายฉบับปี ค.ศ. 1994 ของสหรัฐ ให้การยกเว้นกับอาหารเสริม โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดขององค์การอาหารและยาของรัฐบาล ผู้ผลิตเพียงแต่ให้การรับรองกับองค์การอาหารและยาว่าผลิตภัณฑ์ของตนปลอดภัย และได้ระบุส่วนประกอบไว้ที่ฉลากของบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้องตรงกับความเป็น จริง

รายงานของ New York Times กล่าว ว่า วุฒิสมาชิก Orrin Hatch สังกัดพรรค Republican เป็นผู้เขียนร่างกฎหมายฉบับนี้ และได้ให้การปกป้องคุ้มครองความพยายามใดๆ ที่จะแก้ไขปรับเปลี่ยนกฎหมายนี้มาตลอด แม้จะมีกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับการปนเปื้อนอาหารเสริมที่ทำให้มีผู้บริโภคเจ็บ ป่วยและถึงแก่ชีวิตมาแล้วในอดีต

รายงานของ New York Times กล่าวไว้ด้วยว่า สว. Orrin Hatch ได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนมากเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งจากอุตสาหกรรมอาหารเสริม

ครั้ง นี้เป็นครั้งแรกที่หน่วยงานรักษากฎหมายในสหรัฐ ขู่จะดำเนินคดีกับธุรกิจขายปลีกรายใหญ่ระดับชาติสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ที่จง ใจให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ผิดพลาดแก่ผู้บริโภค

นอก จากจะเรียกร้องให้ธุรกิจขายปลีกเหล่านี้เลิกขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าว แล้ว สำนักงานอัยการรัฐนิวยอร์คยังได้มีคำสั่งให้ธุรกิจเหล่านี้ จัดทำคำอธิบายกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบส่วนประกอบอาหารเสริมให้ด้วย

ที่มา : http://www.voathai.com/content/newyork-and-supplement-nm/2631363.html

ยืนกระต่ายขาเดียว 20 วินาที วิธีง่ายๆในการทดสอบโรคหลอดเลือดในสมอง

ยืนกระต่ายขาเดียว 20 วินาที วิธีง่ายๆในการทดสอบโรคหลอดเลือดในสมอง

หากคุณยืนกระต่ายขาเดียวได้นานไม่เกิน 20 วินาทีอาจหมายความว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวเส้นเลือดในสมอง

Struggling to balance on one leg for more than 20 seconds could indicate greater risk of stroke. (©Yasuharu Tabara, Kyoto University Graduate School of Medicine)

ทีม นักวิจัยญี่ปุ่นที่ศูนย์ Center for Genomic Medicine ที่มหาวิทยาลัย Kyoto  University ชี้ว่าคนที่ไม่สามารถรักษาสมดุลได้ขณะทดลองยืนกระต่ายขาเดียวในระยะเวลาะ สั้นๆได้ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์เพื่อดูสุขภาพของเส้นเลือดในสมอง 

ทีม นักวิจัยทีมนี้ให้อาสาสมัครชายและหญิงที่ร่างกายแข็งแรงดี อายุเฉลี่ย 67 ปี จำนวนเกือบ 1,400 คนทดลองยืนกระต่ายขาเดียว โดยจับเวลาว่ายืนขาเดียวได้นานแค่ไหน อาสาสมัครลืมตาขณะยืนบนขาข้างเดียวโดยยกขาข้างหนึ่งขึ้นเหนือพื้น

ทีม นักวิจัยพบว่าอาสาสมัครที่ไม่สามารถรักษาสมดุลขณะยืนกระต่ายขาเดียวได้นาน 20 วินาทีเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตก ทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพสมองเป็นตัวช่วยยืนยันความเสี่ยงต่อโรค นี้ 

ผู้ สื่อข่าววีโอเอรายงานว่าอาสาสมัครในการวิจัยที่พบว่ามีปัญหาสุขภาพของเส้น เลือดในสมองเป็นกลุ่มที่สูงวัยและเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว 

ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นทีมนี้ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาไปเมื่อเร็วๆ นี้ในวารสาร American Heart Association journal Stroke พวกเขาชี้ด้วยว่า อาสาสมัครที่เสียสมดุลขณะยืนกระต่ายขาเดียวนาน 20 วินาทียังเป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถทางความคิดอ่านอีกด้วย 

ที่มา : http://www.voathai.com/content/combined-health-strokres-tk/2595981.html

อาหารในแต่ละช่วงวัยของชีวิต

อาหารในแต่ละช่วงวัยของชีวิต  Diet throughout life

 

การ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย อย่างไรก็ดีความต้องการอาหารในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกัน เช่น วัยเด็กต้องการพลังงานสูงเพื่อการเจริญเติบโต เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายต้องมีการควบคุมน้ำหนักเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง บทความนี้ได้ให้แนวทางในการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิตตั้งแต่วัย ทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยสูงอายุ

 

 

วัยทารก

ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ยังไม่ต้องการอาหารใดๆ นอกจากนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ทารกบางคนอาจแพ้นมวัวที่อยู่ในนมผง ดังนั้นหากสงสัยว่าทารกแพ้นมวัวให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกเพราะนมแม่ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่ทารกต้องการอย่างครบถ้วน แต่เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน สารอาหารในนมแม่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงควรเริ่มให้อาหารอื่นๆ นอกจากการให้นมแม่ ซึ่งเรียกว่าเข้าช่วงการหย่านม (Weaning) นั่น เอง การเริ่มหย่านมนั้นขึ้นกับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละคน โดยอาจเริ่มให้อาหารที่มีลักษณะของความเป็นเนื้ออาหารเพื่อกระตุ้นให้ทารก รู้จักการบดเคี้ยว แต่ห้ามเติมเกลือลงในอาหารเนื่องจากไตของทารกยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็ม ที่ และเช่นเดียวกันห้ามทารกดื่มน้ำผึ้งจนกว่าจะอายุครบหนึ่งขวบ เนื่องจากในน้ำผึ้งอาจมีแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกได้   

อย่างไรก็ตามทารกยังคงต้องการนมแม่หรือนมผง ไปพร้อมกับการให้อาหารอื่นๆ จนกว่าอายุครบ 1 ขวบ ปริมาณที่ให้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ทารกสามารถรับประทานได้ อย่าพยามยามให้ทารกรับประทานอาหารมากเกินความต้องการ

วัยเด็ก

เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงต้องการอาหารที่ให้สารอาหารและพลังงานสูง เด็กวัยหัดเดิน (Toddlers) ยัง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้มากนัก ดังนั้นจึงควรป้อนอาหารมื้อเล็กๆ และของว่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผลไม้ชิ้นเล็กๆ แครอทหรือแตงกวาหั่น ซึ่งสามารถป้อนได้เรื่อยๆ ทั้งวัน เมื่อเด็กอายุครบ 5 ขวบ ก็สามารถให้เด็กรับประทานอาหารทั่วไปเหมือนสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวได้ แต่ห้ามเติมเกลือในอาหารเด็ก สิ่งสำคัญคือเด็กต้องได้รับโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของกระดูกและกล้ามเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่ให้ทั้งโปรตีนและแคลเซียมที่จำ เป็นสำหรับเด็ก เด็กอายุ 1-3 ขวบต้องการนมอย่างน้อย 8 ออนซ์ต่อวัน (หรือเท่ากับ 240 มิลลิลิตรต่อวัน) นมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ คือ นมครบส่วน (Whole milk) หรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็ม (Full fat dairy product) ซึ่งสามารถให้พลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

เด็ก ต้องการอาหารที่หลากหลายและพ่อแม่ต้องพยายามทำให้เวลาบนโต๊ะอาหารเป็นเวลา ที่มีความสุขของครอบครัว หลีกเลี่ยงการให้เด็กรับประทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารประเภทจานด่วน (Fast food) เพื่อ พัฒนาให้เด็กมีพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพตั้งแต่ยังเล็กและมีความคุ้นเคยกับ อาหารเพื่อสุขภาพว่าเป็นอาหารที่ควรกินตามปกติเป็นประจำ พ่อแม่ต้องพยายามคิดหาวิธีกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์บาง ชนิดซึ่งเด็กไม่ชอบ และเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะผ่านปัญหานี้ไปได้ หรืออาจดัดแปลงอาหารสุขภาพให้เด็กกินได้ง่ายขึ้น เช่น ผสมผักปนเข้าไปในมันบด เป็นต้น

เมื่อเด็กโตขึ้น พ่อแม่ต้องสอนให้เห็นถึงความสำคัญของอาหารสุขภาพและชี้ให้เห็นประโยชน์และโทษของอาหารแต่ละชนิดต่อร่างกาย

วัยรุ่น

วัย รุ่น เป็นวัยที่มีการพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องการอาหารที่ให้สารอาหารและพลังงานสูง เด็กวัยนี้มักรับประทานอาหารได้มาก แต่สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารมากกว่าขนมหวาน หรืออาหารไขมันสูง เช่น น้ำอัดลม เค้ก ขนมปัง ซึ่งมีแคลลอรี่สูงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ส่วน ประกอบอาหารของวัยรุ่นที่สำคัญ คือ อาหารประเภทแป้งเป็นพื้นฐาน อุดมด้วยผลไม้และผัก และมีผลิตภัณฑ์โปรตีนและนมในปริมาณปานกลาง นอกจากนี้พวกเขายังสามารถรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานได้จากขนมขบเคี้ยว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ถั่ว ลูกเกดหรือน้ำผลไม้ปั่นระหว่างมื้ออาหาร  

รูป ร่างเป็นสิ่งสำคัญที่คนวัยนี้ให้ความสำคัญ แต่ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารในการควบคุมน้ำหนัก วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนักคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างสมดุลและออกกำลังกายอย่างสม่ำ เสมอ

สิ่ง สำคัญอีกประการสำหรับวัยรุ่น คือการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเพศหญิงซึ่งสูญเสียธาตุเหล็กไปพร้อมประจำเดือน อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อแดง ปลา(โดยเฉพาะปลาซาดีน) พืชตระกูลถั่วและธัญพืช

วัยผู้ใหญ่

ความต้องการทางโภชนาการของคนในช่วงอายุ 19-50 ปี ไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร อาหารสำคัญสำหรับคนวัยนี้ควรเป็นอาหารประเภทแป้งที่มีเส้นใยสูงและผักผลไม้ มีอาหารโปรตีนพอประมาณจาก เนื้อสัตว์ ถั่ว นม และรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและไขมันในปริมาณน้อย สิ่งสำคัญคือการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตนเอง แอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและทำลายตับ ดังนั้นควรดื่มในปริมาณจำกัดตามที่มีการแนะนำ 

วัยสูงอายุ

เมื่อ อายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกายจะลดลง ประกอบกับการมีกิจกรรมทางกายน้อยลง ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนวัยนี้จะเริ่มรับประทานอาหารน้อยลง อย่างไรก็ตามยังควรรับประทานอาหารเป็นประจำ โดยเน้นผักและผลไม้  หาก คุณพบว่าคุณเริ่มเบื่ออาหาร ก็ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง แต่ให้รับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ในระหว่างมื้ออาหาร และให้เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน  อย่า ลืมดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อป้องกันท้องผูก นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังสำคัญสำหรับผู้สูงอายุเช่นกันเพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ น้ำมันปลา ถั่วอบธัญพืชต่างๆ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแร่ธาตุวิตามินที่เหมาะสม เป็นต้น

 

เมื่อ คุณอายุมากขึ้น คุณอาจไม่อยากทำอาหารเอง เนื่องจากมีความยุ่งยากในการจับจ่าย ซื้อของ หรือการเตรียมอาหาร คุณจึงอาจซื้ออาหารสำเร็จรูปที่ให้คุณค่าทางอาหารที่ปรุงง่าย เก็บได้นานไว้รับประทานหรือแช่แข็งไว้รับประทานภายหลัง รวมถึงควรมีอาหารกระป๋องที่สามารถเก็บไว้เพื่อรับประทานในกรณีที่คุณไม่ สามารถออกจากบ้านได้ การ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือองค์กรทางสังคม ในกรณีที่คุณไม่สามารถจัดซื้อและเตรียมอาหารได้เอง ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคิดเตรียมการไว้

ที่มา :  https://www.bupa.co.th/th/corporate/health-wellbeing/detail.aspx?tid=70#.VLHzmCuUclA

www.ptpfoods.com

www.facebook.com/kuunepage

Line id : OatEcho

อาหารซ่อนเค็ม Infographics

มูลนิธิหมอชาวบ้าน

สื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม

เกลือ เป็นเครื่องปรุงที่นิยมใช้เพิ่มรสชาติและถนอมอาหาร ปัจจุบันคนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ย 4,400 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งที่เราควรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันหรือคิดเป็นโซเดียม 2,000 มิลลิกรัมเท่านั้น ลองมาวัดปริมาณโซเดียมที่เรากินอาหารแต่ละอย่างมีมากน้อยแค่ไหน และจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างไรด้วยตนเอง กับสื่อเรียนรู้ – อาหารซ่อนเค็ม

‪#‎ฉลาดรู้‬ ‪#‎ฉลาดคิด‬ ‪#‎ฉลาดเลือก‬‪#‎KuuNe‬ ‪#‎คูเน่‬ ‪#‎นวัตกรรมผงปรุงครบรสเพื่อสุขภาพ‬ ‪#‎โซเดียมต่ำ‬

‪#‎ไม่มีเนื้อสัตว์‬ ‪#‎ผงชูรส‬ ‪#‎สารเคมีปรุงแต่งกลิ่นสีรส‬ ‪#‎ปลอดสารเคมี‬ ‪#‎ธรรมชาติ‬100% ‪#‎2in1‬ ‪#‎ใช้ปรุงอาหาร‬ ต้ม ผัด แกง ทอด หมัก และ ยำ หรือ ‪#‎ใช้ชงดื่มบำรุงสุขภาพ‬ ‪#‎ใส่บาตรถวายพระใช้เป็นเครื่องดื่มระหว่างวัน‬ ‪#‎หอมชงปานะ‬ จากผลงานวิจัยดีเด่น ม.เกษตร ได้รับ ‪#‎รางวัลชนะเลิศ‬

 

 

 

 

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

ฐานคิดของจริยธรรมและการวิจัยในโลกสมัยใหม่Ethical Thinking in Modern Researchesอรศรี งามวิทยาพงศ์

 

หัวข้อหลักสำหรับบทความชิ้นนี้ประกอบด้วยบทนำ ๑. ฐานคิดทางจริยธรรม ๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ ๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย ๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย บรรณานุกรม

บทนำ 

 

หาก เราสำรวจและสังเกตบทความต่าง ๆ ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมในการวิจัยนั้น เรื่องของ”สิทธิ, ความซื่อสัตย์ , ความรับผิดชอบ” มักถือเป็นกรอบหรือเกณฑ์หลักของการวินิจฉัยระดับจริยธรรมในการวิจัยทั้งก่อน – ระหว่าง – หลังการวิจัย โดยครอบคลุมทั้งผู้วิจัย ผู้ถูกวิจัย ผู้ใช้งานวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย ฯลฯ แม้กรอบหรือเกณฑ์วินิจฉัยจะอยู่ใน ๓ ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ แต่กระนั้นก็ยังหาข้อสรุปเดียวกันได้ยาก จึงยังมีประเด็นโต้แย้งอย่างหลากหลายในเรื่องจริยธรรมและการวิจัยอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ว่าอะไรผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดทัศนะที่แตกต่างกันนั้นน่าจะมาจาก :๑. ความแตกต่างในฐานคิดของ”จริยธรรม” ทำให้เกิดมุมมองทางจริยธรรมที่แตกต่างกัน ตามคำนิยามและคุณค่าที่กำหนดในจริยธรรมนั้น ๆ เหมือนดังบทความของ Donna L. Deyhle , G. Alfred Hess, Jr. และ Magaret D.LeCompte ชื่อ Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education ที่เสนอทฤษฎีจริยธรรม ๕ แบบ (ของ William S. May) เพื่อเป็นกรอบหรือฐานคิดแบบหลวม ๆ เพื่อตอบคำถามว่า “อะไรคือจริยธรรมในการวิจัย ( What is ethical Research ? ) โดยที่แต่ละแบบก็จะมีมุมมองจริยธรรมแตกต่างกันเช่นเดียวกับทัศนะที่มีต่อ การวิจัย ดังนั้นหากรวมฐานคิดของจริยธรรม และการให้ความหมาย”การวิจัย”ในทัศนะอื่น ๆ เข้าไปอีก ความหลากหลายในประเด็นจริยธรรมกับการวิจัยก็คงจะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก


๒. ข้อเท็จจริงที่ว่าการวิจัยมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสูญญากาศ หากเกิดขึ้นและปฏิบัติการท่ามกลางความเชื่อ ค่านิยม ระบบอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสังคมนั้น ๆ สภาพการณ์นี้ทำให้เรามักพบเสมอว่า มาตรฐานจริยธรรมในการวิจัยกำหนดได้ยาก ไม่เป็นสากล และเป็นสาเหตุทำให้เกิดจริยธรรมที่มีมาตรฐาน ๒ ระดับ ( double standard ) ที่แตกต่างกันต่อเรื่องเดียวกัน เช่นมาตรฐาน ทางจริยธรรมเมื่อทำวิจัยในประเทศพัฒนา จะแตกต่างจากในประเทศด้อยพัฒนา ทั้ง ๆ ที่เป็นนักวิจัยหรือการวิจัยในเรื่องเดียวกัน คือในสังคมซึ่งรู้จักสิทธิ และสนใจสิทธิของตนเอง นักวิจัยอาจจำเป็นจะต้องจำกัดสิทธิของตนเองด้วยการยืดถือจริยธรรมเป็นกรอบ แต่ในสังคมซึ่งยังขาดสิทธิ หรือไม่รู้จักสิทธิของตนเอง นักวิจัยก็มีโอกาสที่จะใช้สิทธิในการวิจัยตามความต้องการของตนเองได้มาก ในลักษณะนี้ จริยธรรมเกิดขึ้นจากการควบคุมของภายนอก ซึ่งผู้วิจัยหรือให้ทุนวิจัยที่ขาดจิตสำนึกจากภายใน ก็อาจจะหาวิธีและโอกาสหลีกเลี่ยงหรือสร้างข้ออ้างที่ชอบธรรมขึ้นมา เมื่องานของตนเองถูกวิจารณ์ในแง่จริยธรรมการ วิจัยแบบนี้จึงมิได้ช่วยพัฒนารากฐานแห่งความคิดทางจริยธรรมของนักวิจัย และทำให้เรื่องของจริยธรรมกลายเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภายนอก มิใช่เรื่องในวิถีชีวิตปกติ เหมือนดังที่บทความของ Donna L. Deyhle และคณะเสนอไว้ในบทสรุปว่า จริยธรรมมิใช่ประเด็นที่จะพูดถึงเมื่อนักวิจัยจะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล หรือเมื่อจะทำวิจัยเท่านั้น หากจริยธรรมเป็นเรื่องของวิถีชีวิตหรือการประพฤติปฏิบัติในทุกขณะของชีวิต บุคคลสาระที่ผู้เขียนสนใจ และพยายามที่จะคิดแล้วนำเสนอให้สืบเนื่องจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น คือ๑.ฐานคิดทางจริยธรรมตามทัศนะของผู้เขียน และฐานคิดดังกล่าวนำไปสู่กรอบหรือเกณฑ์การวินิจฉัยประเด็นจริยธรรมในการวิจัยอย่างไร๒. หากเราต้องการให้จริยธรรมในการวิจัยเป็นเรื่องของวิถีชีวิต มิใช่เป็นเรื่องที่จะคิดถึงเฉพาะเวลาจะลงเก็บข้อมูล หรือคิดจะทำวิจัยเท่านั้น ฐานคิดของการวิจัยและจริยธรรมจะต้องเป็นอย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร๑. ฐานคิดทางจริยธรรม
ใน ทัศนะของผู้เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
ในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือในทัศนะของผู้ เขียน เห็นว่าจริยธรรมจะเป็นวิถีชีวิตและมาจากจิตวิญญาณภายในได้นั้นจะต้องมีฐาน คิดที่เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งสูงสุดในธรรมชาติ ซึ่งในทางพุทธศาสนาคือกฎแห่งธรรมชาติ(หรือในศาสนาอื่นคือพระเจ้า) ในหลักการของพุทธศาสนานั้น จริยธรรมคือวิถีการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก แล้วความสัมพันธ์นั้นก็กลับมาพัฒนาบุคคลเองด้วย จริยธรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ๑.๑ จริยธรรมในระดับสมมุติสัจจะ เป็นจริยธรรมระดับของคุณธรรมหรือศีลธรรมซึ่งกำหนดขึ้นจากระบบความเชื่อหรือ คุณค่าของสังคมนั้น ๆ เพื่อการอยู่ร่วมกัน ซึ่งแต่ละสังคมอาจแตกต่างกันไปได้ ตามเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมและสภาพสังคมแต่ละยุคแต่ละถิ่น เช่น การเอื้อเฟื้อให้ที่นั่งแก่เด็ก เป็นความดีในสังคมไทย แต่ในสังคมซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์พึงได้รับการฝึกให้ช่วยตนเองให้มากที่สุด เช่น สังคมญี่ปุ่น การลุกให้เด็กนั่ง ไม่ถือเป็นความดี เพราะในสังคมอุตสาหกรรมการช่วยตนเองได้เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมระดับนี้ จึงถูกกำหนดโดยมนุษย์ และอาจเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม ยุคสมัย ( ทุนนิยมมีจริยธรรมแบบหนึ่ง สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง) จริยธรรมในระดับนี้ จะสร้างความสงบสุขในสังคมได้เพียงใด ขึ้นกับว่าจริยธรรมนั้น อิงอยู่บนฐานของจริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ (ความจริงสูงสุดตามธรรมชาติ) หรือระดับที่ ๒ มากเพียงใด๑.๒ จริยธรรมระดับปรมัตถ์สัจจะ คือจริยธรรมที่ตั้งอยู่บนสัจจะสูงสุดหรือกฎความจริงของโลก ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา สถานที่ บุคคล สังคม ฯลฯ เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยมนุษย์ หากแต่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่อยู่เหนือสรรพชีวิตและสรรพสิ่งในโลก กำหนดให้มนุษย์ต้องทำตาม เพื่อให้เกิดสมดุลและปกติภาวะในการดำรงอยู่ของโลก กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือปรมัตถ์สัจจะดังกล่าวคือ สรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม ในเชิงพึ่งพาอาศัย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ความสัมพันธ์นี้เชื่อมโยงอยู่ในลักษณะเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดสิ่งนี้ ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ( ความรู้ในเรื่องนิเวศวิทยา ช่วยยืนยันสภาวะความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ) มนุษย์ในฐานะปัจจัยย่อยหนึ่งของระบบธรรมชาติย่อมต้องขึ้นกับกฎธรรมชาตินี้ ด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา มนุษย์มิได้เป็นศูนย์กลางของธรรมชาติ(โลก) ที่สามารถอยู่อย่างเอกเทศ มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติเหมือนความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นฐานคิดของวิทยาศาสตร์แบบวัตถุหรือปริมาณดัง นั้น การจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ปราศจากความยุติธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบ เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จึงเป็นสภาวะที่ขัดกับกฎธรรมชาติ สังคมนั้นไม่สามารถจะมีสันติภาพ (สันติภาวะ) คือสมดุลหรือดุลยภาพได้ เช่นเดียวกับการที่มนุษย์สัมพันธ์กับระบบนิเวศอย่างไม่สมดุล คือใช้ความรู้ในวิทยาศาสตร์ สร้างเทคโนโลยีเพื่อเอาชนะข้อกำหนดของธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการหรือความพอใจ(ซึ่งไม่ที่ที่สิ้นสุด)ของมนุษย์ พฤติกรรมนี้จะทำลายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศที่ซับซ้อนเกินความหยั่งรู้ของ มนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ การทำลายล้างดังกล่าว จะย้อนกลับมาลงโทษมนุษย์ด้วยอย่างรุนแรงและหลีกหนีไม่พ้น ตามกฎแห่งการกระทำ(กรรม ) เช่น ความแปรปรวนของภูมิอากาศ การลดลงของชั้นโอโซน อันเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง การระบาดของโรคพืช สัตว์ มนุษย์ อันเนื่องมาจากกลไกการควบคุมกันเองของแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ถูกทำลายลงจากความแปรปรวนในระบบนิเวศ ที่สืบเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งความแปรปรวนในพฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์เองด้วยผู้ เขียนเชื่อว่า จริยธรรมระดับที่ ๒ มิใช่ข้อกำหนดที่ให้เลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา จะทำตามหรือไม่ทำตาม คือไม่ว่าจะชอบหรือไม่อย่างไร ก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้แล้วทำตามกฎธรรมชาตินี้ หากมนุษย์ต้องการที่จะดำรงเผ่าพันธุ์และมีสังคมที่สงบสุข เพราะจริยธรรมนี้อยู่เหนือการกำหนดและการต่อรองของมนุษย์๒.จริยธรรมในทัศนะใหม่ จากฐานคิดทางจริยธรรมดังกล่าว ผู้เขียนมีความเห็นหรือมุมมองในเรื่องของจริยธรรมและการวิจัยดังนี้๒.๑ จริยธรรมมิใช่เป็นเพียงเรื่องของความดีความเลว(สมมุติสัจจะ) แต่เป็นเรื่องของความจริงด้วย บรรทัดฐานของจริยธรรมในสังคม จะต้องตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ของธรรมชาติหรือโลก จึงจะทำให้สังคมสงบสุขอย่างยั่งยืนได้ การประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรม จึงเป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตบุคคล เพื่อเข้าสู่สภาวะธรรมชาติ เกิดความหยั่งรู้ถึงกฎเกณฑ์ของโลกมากขึ้น และปฏิบัติตามได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนทั้งระดับบุคคลและสังคม๒.๒ จริยธรรมเป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ที่อิงกับกฎความจริงของธรรมชาติ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จึงต้องเป็นไปอย่างอิงอาศัยกัน เป็นผู้ให้และผู้รับ ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้น สังคมซึ่งคนหมู่มากไม่ได้รับความเป็นธรรม มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหลื่อมล้ำแตกต่างมาก มีฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจกระทำต่ออีกฝ่ายหนึ่งอยู่ตลอดเวลา จึงขัดกับกฎธรรมชาติ ถือเป็นพฤติกรรมที่ขาดจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะ ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสรรพชีวิตอื่นในธรรมชาติก็ ต้องอยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย คือไม่มุ่งเอาประโยชน์ของมนุษย์เป็นตัวตั้งฝ่ายเดียว ( เช่น การทำเกษตรกรรมเคมีในระบบปัจจุบัน )๒.๓ ผลกระทบจากความเสื่อมถอยของศาสนา ทั้งสถาบันและคำสอน มีผลให้ความหมายของจริยธรรมในระดับปรมัตถ์สัจจะเลือนหายไป และถูกทำให้คลาดเคลื่อนไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะของระบบทุนนิยมและอำนาจนิยม ทำให้จริยธรรมระดับแรกไร้รากหรือขาดฐานคิดของปรมัตถ์สัจจะ จึงล้าสมัย มีคุณค่าน้อยในทัศนะของคนสมัยใหม่ เพราะอาจเป็นจริยธรรมในยุคสมัยเดิมซึ่งสังคมยังไม่ซับซ้อน(สังคมเกษตรกรรม) ปัญหาไม่หนักหน่วงรุนแรงเช่นปัจจุบัน ที่สังคมมีขนาดใหญ่มีลักษณะโลกาภิวัตน์ เมื่อนำจริยธรรมที่เป็นปัญหาดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับการวิจัย จึงทำให้เกณฑ์การวินิจฉัยเกิดความคลุมเครือ ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งงานวิจัยและนักวิจัย๒.๔ หากพิจารณาจริยธรรมในความหมายระดับที่ ๒ คือมุ่งการสร้างสังคมที่มีสภาวะสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ ( พึ่งพาอาศัย มีสมดุล สันติภาพ ) กรอบจริยธรรมจะต้องได้รับการขยายความใหม่ ให้ครอบคลุมสังคมที่มีพฤติกรรมและระบบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอย่างเช่น ปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่น– รูปแบบการพัฒนาที่นำไปสู่การทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ สรรพชีวิตอื่น ระบบนิเวศ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ถือว่าผิดจริยธรรม– การที่คนส่วนมากตกอยู่ในสภาพถูกเอารัดเอาเปรียบ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างอดอยากขาดแคลน คับแค้น เป็นสังคมซึ่งขาดจริยธรรม– การที่คนเมืองใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ด้วยการแย่งชิงจากชนบท ( แม้จะถูกกฎหมาย) ถือว่าผิดจริยธรรม เช่น การใช้น้ำ ไฟฟ้าอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงความสุข ความสะดวกสบาย เนื่องจากทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ระบบนิเวศถูกกระทบมากขึ้น เพราะการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้นไม้ – สัตว์ป่าจำนวนมหาศาลถูกรบกวนและทำลายล้าง ชุมชนถูกไล่ที่ และการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ ฯลฯ– การสร้างมลภาวะ มลพิษแก่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าบนบก น้ำ อากาศ เป็นการประทำที่ผิดจริยธรรม เพราะทำลายสุขภาพของผู้อื่น ( ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช ) และทำลายระบบนิเวศ ก่อผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร วงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น– การกระทำหลายอย่างแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ผิดจริยธรรมได้ กฎหมายไม่เป็นบรรทัดฐานของจริยธรรม เนื่องจากกฎหมายกำหนดขึ้นตามอำนาจและทัศนคติของผู้บัญญัติ หรือตามความต้องการของมนุษย์ฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงการอยู่อาศัยร่วมกับสรรพชีวิตอื่น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ– พฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคนในสังคม ก็มีความเกี่ยวโยงทางจริยธรรมด้วย เช่น การสวมหมวกกันกระแทก การคาดเข็มขัดนิรภัย การขับรถโดยไม่ประมาท ฯลฯ เพราะการป้องกันหรือหาทางลดความรุนแรงจากอุบัติที่ป้องกันได้ ช่วยให้ทรัพยากรทางการแพทย์ (งบประมาณสาธารณสุข บุคลากร เวลา สถานที่ ) ได้รับการสงวนไว้สำหรับความเจ็บป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะแก่คนยากจน แม้แต่การไม่ทิ้งขยะลงบนถนน ก็เป็นประเด็นทางจริยธรรม เพราะช่วยให้คนกวาดถนนไม่ต้องทำงานหนัก เสียสุขภาพ มีเวลาอยู่กับครอบครัวของตนเองมากขึ้น ฯลฯ

 

๓. เกณฑ์วินิจฉัยจริยธรรมกับการวิจัย จริยธรรม ในความหมายที่กล่าวมา เมื่อนำมาวินิจฉัยในบริบทของการวิจัย ว่าการวิจัยอะไร ,อย่างไร ผิดจริยธรรมหรือไม่ จึงมีนัยกว้างกว่าการตีความออกมาเป็นข้อกำหนดหรือจรรยาบรรณ ผิดถูก ผู้เขียนเห็นว่า๓.๑ การวิจัยซึ่งเป็นไปเพื่อส่งเสริม ธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบความสัมพันธ์อันไม่ยุติธรรมในสังคมเป็นการวิจัยที่ผิด จริยธรรม คือทำให้คนหมู่มากเสียประโยชน์ หรือถูกเอาเปรียบมากขึ้น หรือทำให้ผู้ด้อยโอกาส เสียโอกาสมากขึ้น เช่น กรณีนักวิจัยไทยรับทุนการวิจัยจากบรรษัทข้ามชาติด้านอาหาร เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์นมสูตรใหม่ที่ช่วยให้เด็กทารกเสียชีวิตจากการท้องเสีย น้อยลง(เหตุการณ์นี้เกิดเป็นข่าวในปี 2541 กับเด็กในสถานสงเคราะห์ของรัฐ) ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า การวิจัยดังกล่าวผิดจริยธรรม เนื่องจาก– เป็นการกดขี่เอาเปรียบเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์ ซึ่งไม่มีทางเลือกหรือทางปฏิเสธการถูกวิจัย ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อยู่ในสถานภาพของคนด้อยโอกาสทางสังคมอยู่แล้ว– องค์กรผู้ให้ทุนการวิจัย เป็นองค์กรที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องยาวนานมาทั้งในสังคมไทยและ ทั่วโลก ในทางทำลายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาศัยกลยุทธการตลาด การโฆษณา ทั้ง ๆ ที่นมแม่ได้รับการวิจัยยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพเด็กมากกว่า เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกมากกว่า การวิจัยดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ให้ทุนวิจัยมากกว่า แม้ว่าผู้วิจัยจะอ้างว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะช่วยให้เกิดการพัฒนานมสูตร ใหม่ที่ช่วยลดการท้องเสียเป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่เด็ก เพราะความจริงคือผลการวิจัยจะถูกนำไปใช้ทางธุรกิจของบรรษัทดังกล่าวเช่นที่ เกิดขึ้นมาโดยตลอด กรณีนี้เป็นตัวอย่างของจริยธรรมแบบ ๒ มาตรฐาน (double standard ) ที่ชัดเจนกรณีหนึ่ง เพราะการวิจัยแบบนี้ ไม่สามารถทำได้ในประเทศพัฒนาแล้ว๓.๒ เป้าหมายการวิจัยเป็นตัวบ่งชี้จริยธรรมที่สำคัญประการหนึ่ง จึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องคิดวิเคราะห์ให้ชัดเจน ว่าตนเองทำวิจัยเพื่ออะไร เพื่อผู้ด้อยโอกาส ไร้อำนาจ ให้มีโอกาส มีศักยภาพ ในระบบความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นหรือแย่ลง ผู้เขียนเห็นด้วยกับการวิจัยตามทฤษฎีแบบที่ ๔ ( Critical Theory and Advocacy ) ว่าการวิจัยควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อผู้ไร้อำนาจ ถูกทอดทิ้ง และเห็นว่าควรขยายขอบเขตไปตามฐานคิดทางจริยธรรมว่า แม้สัตว์ พืช ก็ไม่ควรถูกนำมาวิจัย เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ฝ่ายเดียว เช่น การวิจัยทดลองความปลอดภัยการขับขี่รถยนต์โดยการใช้ลิงเป็นตัวทดลองถือว่าไม่ ถูกจริยธรรม คือแทนที่มนุษย์จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใส่ใจต่อความไม่ประมาทให้มากขึ้น กลับหาทางแก้ไขที่ปลายเหตุโดยการทำร้ายชีวิตอื่น โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้เพื่อทำผิดจริยธรรม(กฎ ธรรมชาติ)มากขึ้น เช่นการโคลนนิ่ง ( Cloning ) , การวิจัยเพาะพันธุ์กบไม่มีหัว เพื่อแสวงหาทางสร้างอะไหล่มนุษย์ เป็นต้นอย่าง ไรก็ตาม ผู้เขียนมิได้ต่อต้านหรือเห็นว่าการวิจัยของธุรกิจผิดไปเสียทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นกับฐานของเป้าหมายว่า เพื่อตอบสนองทางธุรกิจเป็นหลักล้วน ๆ แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจส่วนอื่นใดเลย และเป็นไปเพิ่มอำนาจให้แก่ผู้มีอำนาจมากอยู่แล้วหรือไม่ และเป็นไปเพื่อจะฝืนกฎเกณฑ์ธรรมชาติ หรือเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศให้ยั่งยืน ดังนั้นการปลอมตัวของนักวิจัยเพื่อเข้าไปในประเทศอัฟริกาใต้ ในยุคที่ยังแบ่งแยกสีผิวนั้น ผู้เขียนเห็นว่าแม้จะผิดจากความจริง (ปลอมตัว) แต่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของคนอื่นมากกว่าผู้ทำวิจัย คือปรารถนาที่จะวิจัยสภาพการกดขี่ทารุณในประเทศนั้น เพื่อนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือ เพิ่มอำนาจให้แก่ผู้ไร้อำนาจ เช่นเดียวกับการปลอมตัวเพื่อตรวจสอบระบบบริการผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรง พยาบาล ในประเทศอังกฤษ เพื่อช่วยให้ผู้ขาดโอกาสได้รับบริการที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำให้พนักงานในที่ทำงานแห่งนั้นจะต้องพัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ทำงานด้วยความรับผิดชอบมากขึ้น เป็นคนที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงไม่ได้เสียประโยชน์อะไร ( ถ้าผู้วิจัยยืนยันว่าผลการวิจัยจะไม่นำไปสู่การลงโทษ แต่นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร )อย่าง ไรก็ตาม การปลอมตัว การพูดเท็จ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งไม่ตรงกับความจริงต้องถือว่าผิดไปจากความจริงตาม ธรรมชาติ แต่ความผิดจะหนักหรือเบาเพียงใดขึ้นกับเจตนาเป็นตัวตัดสินด้วย แต่นักวิจัยจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เจตนามิใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนสิ่งที่ผิดจากความจริงให้เป็นถูกได้ ความถูกผิดในระดับปรมัตถ์มิได้กำหนดโดยคน ค่านิยม หรือตามตัวอักษร หากถือหลักตามความจริงของธรรมชาติ เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ฉะนั้น ความเท็จจึงเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยงและใช้เมื่อเป็นหนทางสุดท้าย เพื่อประโยชน์ของคนอื่นที่ด้อยโอกาสหรือทุกข์ยากเท่านั้น และจะต้องตระหนักถึงการแสวงหาแนวทางที่ดีกว่าในครั้งต่อไปเสมอ


๔. ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาของจริยธรรมและการวิจัย 5
ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้
ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้ผู้ เขียนเห็นว่า จริยธรรมและการวิจัย ควรมีเป้าหมายเดียวกัน คือเพื่อพัฒนามนุษย์และสังคม ให้ดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ทั้ง ๒ เรื่องจึงมีความสัมพันธ์ในเชิงพัฒนากันและกัน คือจริยธรรมระดับที่ ๒ จะช่วยพัฒนาเป้าหมายของการวิจัย ให้เข้าสู่การสร้างจริยธรรมตามปรมัตถ์สัจจะมากขึ้น เกิดสังคมที่มีสมดุลและสันติภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันการวิจัยก็จะเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสร้างจริยธรรมในบุคคล และสังคมด้วย ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อเราขยายความหมายของการวิจัยออกไปจากเดิม คือการวิจัยตามความหมายในพุทธศาสนานั้น มิใช่เป็นกิจกรรมหรือภารกิจของนักวิจัยอาชีพ หากการวิจัยมีความหมายเท่ากับ”ปัญญา” การวิจัยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของคนทุกคน เพื่อเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะ สามารถจัดชีวิตและสังคมของตนเองให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติได้การ วิจัยตามนัยนี้ จึงหมายความว่า คนทุกคนควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นนักวิจัย เช่นในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั่งถึงมหาวิทยาลัย ผู้เรียนควรได้วิจัยชีวิตตนเองและสิ่งรอบตัว รู้จักการตั้งคำถามและวิธีการหาคำตอบ คนทุกระดับโดยเฉพาะคนด้อยโอกาสควรมีโอกาสได้วิจัยชีวิตและปัญหาของตนเอง ให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของตนเองหาก ทำได้ดังนี้ ทั้งการวิจัยและจริยธรรมก็จะเป็นวิถีชีวิตของคนทั้งหมดในสังคม มิใช่ของนักวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้บริโภคงานวิจัยเท่านั้น และจะเป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังให้แก่ผู้ด้อยโอกาสด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ จะนำไปสู่ชีวิตและสังคมที่ตั้งอยู่บนความดี ความงาม และความจริงของโลกด้วย.

 

บรรณานุกรม

Deyhle , Donna L. , Hess , G. Alfred , LeCompte , Magaret D. “Approach Ethical Issues for Qualitative Researchers in Education”. in The Handbook of Qualitative Research in Education. ( San Diego , Academic Press, 1992 )

Patai , Daphne. ” U.S. Academics and Third World Women : Is Ethical Research Possible ? in Gluck & Patai . Women’ s Words , 1991

Rubin & Bubbies. “The Ethics and Politics of Social Work Research” in Research Methods of Social Work. 1993

Useem , Michael & Marx , Gary t. , “Ethical dilemmas and political considerations” in : Smith, Robert B. , An Introduction to Social Research.

พระธรรมปิฎก. การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. ( กรุงเทพฯ : กองทุนวุฒิธรรม, ๒๕๔๑ )

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. “จริยธรรมในสังคมไทย ในทัศนะของฝ่ายศาสนา” ใน ศาสนากับสังคมไทย (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เทียนวรรณ , ๒๕๒๕ 


ที่มา :  http://v1.midnightuniv.org/midnightweb/newpage3.html

#ความจริงอิงกับธรรมชาติ

 
Page 7 of 7« First...34567